Tag : ทันตกรรมเด็ก

ทำไมต้องมีทันตกรรมเด็กและสำคัญอย่างไร

เพราะเด็กยังมีระบบฟันที่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงแตกต่างจากผู้ใหญ่ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งยังมีโอกาสฟันผุมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากนิสัยการกินของเด็กโดยทั่วไปมีความเสี่ยงมากกว่า ทั้งนี้ เด็กแต่ละคนยังมีอุปนิสัยที่แตกต่างไปเฉพาะบุคคลอีกด้วย

ทันตกรรมเด็กมีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาช่องปากตั้งแต่ทารกไปจนถึงวัยรุ่น โดยทันตกรรมเด็กจะได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีให้ดูแลความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของเด็กๆ รวมไปถึงการให้การรักษาเชิงป้องกัน การรักษาฟื้นฟู เพื่อที่คุณจะมั่นใจได้ว่า การเติบโตและพัฒนาการของลูกนั้นเป็นไปตามปกติ

ในฐานะของทันตกรรมเด็ก เชื่อว่าการป้องกันโรคในช่องปากตั้งแต่ระยะต้นๆนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น จึงเน้นไปที่การป้องกันฟันผุ ผ่านการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับอาการฟันผุในแต่ละบุคคลจะให้คำแนะนำวิธีป้องกันที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละคน รวมไปถึงความสะอาดในช่องปากที่สามารถเริ่มได้จากที่บ้าน การใช้ฟลูออไรด์ การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเคี้ยวผิวฟัน ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นการรักษาเชิงป้องกันทั้งสิ้น

มาหาทันตกรรมเด็กครั้งแรกหมอฟันทำอะไรให้ได้บ้าง

ครั้งแรก

ในครั้งแรกส่วนใหญ่ทันตกรรมเด็กจะพูดคุยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและให้คำแนะนำเป็นหลัก ทั้งการแปรงฟัน การกินอาหาร การกินนม หากมีฟันขึ้นหลายซี่แล้วอาจจะมีการเคลือบฟลูออไรด์ และให้เด็กทำความคุ้นเคยกับบุคลากรและสถานที่ของคลินิกทำฟัน และนัดติดตามเพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

ทำอะไรบ้างในแต่ละช่วงอายุ

  • เด็กเล็กๆ อายุ ไม่เกิน 2 ขวบ หากไม่มีคราบขี้ฟันสะสมมาก ไม่มีฟันผุ ส่วนใหญ่จะไม่ได้ขัดฟัน เพราะเด็กอาจจะกลัวเสียงของเครื่องขัดฟัน แต่ทาฟลูออไรด์ให้เท่านั้น
  • ในเด็กที่อายุ 3 ขวบ ขึ้นไป ส่วนใหญ่หมอฟันอาจจะเริ่มขัดฟันให้ เพื่อให้เด็กได้ทำความรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ สร้างความคุ้นเคย และเคลือบฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ
  • ในเด็กอายุ 4 ขวบ ขึ้นไป ในรายที่ความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูงอาจมีความจำเป็นต้องถ่าย x-ray เพื่อตรวจฟันผุบริเวณซอกฟัน
  • เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปที่มีฟันกรามแท้ขึ้นแล้ว จะต้องทำเคลือบหลุมร่องฟันแท้เพื่อป้องกันฟันผุบริเวณหลุมร่องฟัน
  • การจัดการกับฟันผุมีหลากหลายวิธีที่สามารถทำได้ ขึ้นกับอายุ และความร่วมมือของเด็กเป็นหลัก ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องรอให้อายุมากกว่านี้ก่อนถึงค่อยพามาหาทันตกรรมเด็ก ซึ่งตอนนั้นอาจจะสายเกินแก้ไขแล้ว เนื่องจากฟันผุในฟันน้ำนมสามารถลุกลามไวกว่าฟันแท้มาก